การตรวจคัดกรองโครโมโซมเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ใช้ในการคัดเลือกหรือคัดกรองตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีจากตัวอ่อนที่มีทั้งหมด เพื่อที่จะนำกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของผู้หญิงที่มีความพร้อมแล้วสำหรับการตั้งครรภ์ โดยการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของกระบวนการทำ IVF หรือ ICSI สำหรับกลุ่มคู่รักที่มีบุตรยากและเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คืออะไร
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (PGT-A) ก่อนทำการฝังตัวสู่โพรงมดลูกซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเป็นอีกวิธีของการแก้ปัญหาของคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก โดยการทำการปฏิสนธิกันภายนอกก่อนแล้วทำการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อหาว่ามีตัวอ่อนไหนที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีคู่โครโมโซมครบ 23 คู่และไม่มีภาวะแทรกซ้อนด้านพันธุกรรม ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วจะเป็นขั้นตอนที่มีการผสมไข่และอสุจิจนได้ตัวอ่อนจากนั้นจะทำการเลี้ยงไว้ก่อนโดยใช้เวลาประมาณ 6 วันจึงมีการนำตัวอ่อนมาตรวจคู่โครโมโซม
ขั้นตอนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน จนมั่นใจว่าได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์พร้อมต่อการตั้งครรภ์
การทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) ในขั้นตอนของการเพาะตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสเป็นระยะที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่มีสมบูรณ์โดยในในแต่ละขั้นตอนการตรวจโครโมโซนตัวอ่อนมีหลักการอย่างไรบ้าง และการตรวจโครโมโซมทำทำให้รู้อะไรบ้าง
1. ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน
เป็นขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนกระทั่งมีการเจริญเติบโตและเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสนี้ใช้ระยะเวลาประมาณไม่เกิน 6 วัน หลังจากที่ได้ทำการปฏิสนธิหรือการมีการผสมอสุจิกับไข่ที่ได้มาจากการดูดออกมามดลูกในช่วงระยะเวลาวันตกไข่ที่พร้อมปฏิสนธิได้ทันที
2. ขั้นตอนการเก็บเซลล์ตัวอ่อน
เมื่อตัวอ่อนเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสนี้หรือผ่านระยะเวลามาแล้วไม่เกิน 6 วันก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บเซลล์ตัวอ่อนซึ่งเซลล์นี้จะพัฒนาเป็นรกต่อไป โดยขั้นตอนนี้จะเป็นเพียงการตัดเซลล์ออกไปบางส่วนเท่านั้น ในการนำไปใช้ตรวจโครโมโซนตัวอ่อนเพื่อหาความสมบูรณ์หรือมีความผิดปกติอย่างไร
3. ขั้นตอนการตรวจหาพันธุกรรม
ความสำคัญในการตรวจหาพันธุกรรมนี้ทำให้สามารถเลือกเพศของทารกได้ และยังทำให้ตรวจหาโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้เพื่อทำให้รู้ว่าโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติเกิดจากอะไรบ้าง ทำให้ป้องกันได้ความผิดปกติเหล่านั้นและไม่นำไปเข้าสู่โพรงมดลูก
4. ขั้นตอนการวิเคราะห์โครโมโซม
สำหรับขั้นตอนในการวิเคราะห์โครโมโซมของตัวอ่อนต้องมีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ โดยจะหาความผิดปกติของตัวอ่อนซึ่งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ และการตรวจคัดกรองโครโมโซมรวมถึงการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี NGS ซึ่งสามารถใช้ตรวจโครโมโซมได้ทั้ง 24 ชนิด
5. ขั้นตอนการรายงานผล
ขั้นตอนในการรายงานผลตรวจโครโมโซนตัวอ่อนมาจนกระทั่งการวิเคราะห์โครโมโซมต้องเป็นการรายงานผลที่ชัดเจนจากแพทย์ที่ชำนาญ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและรอคอยเวลาโดยประมาณไม่เกิน 9 วันไม่รวมวันหยุดเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ
ประเภทใดบ้าง ใช้สำหรับตรวจโครโมโซมตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส
วิธีที่ใช้ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้นและยังได้เด็กที่แข็งแรง เป็นการป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์รวมไปถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมนั่นเอง
PGT-M
เป็นวิธีตรวจโครโมโซมตัวอ่อนหรือเป็นการตรวจความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรมหรือการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมที่จะส่งต่อไปยังลูกในครรภ์และทำให้เกิดความเสี่ยงตามมา กระบวนการ PGT-M จึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วก่อนที่จะทำการฝังตัวอ่อนในโพรงมดลูก และยังทำให้เด็กที่คลอดมาแข็งแรงไม่มีโรคทางพันธุกรรม
PGT-A
เป็นกระบวนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนในการทำเด็กหลอดแก้วที่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากแล้ว และมักพบว่ามีโครโมโซมที่ผิดปกติทำให้มีความเสี่ยงที่เด็กทารกในครรภ์อาจมีภาวะดาวน์ซินโดรมได้ ทำให้การตั้งครรภ์ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้ การใช้วิธี PGT-A เป็นการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสก่อนการฝังตัว ทำให้การตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์และแข็งแรงไม่มีความเสี่ยง
ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเหมาะกับใครบ้าง
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนไม่ว่าจะเป็นวิธี PGT-A หรือ PGT-M ก็เพื่อให้มั่นใจว่าตัวอ่อนที่ได้มาเป็นกระบวนหนึ่งในการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งทำให้การตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จและเด็กก็มีร่างกายแข็งแรงไม่มีภาวะโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยการตรวจคัดกรองโครโมโซมนี้เหมาะกับใครบ้าง
- ครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องโรคประจำตัว โรคที่สามารถส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมจะทำให้ได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง โครโมโซมไม่ผิดปกติ
- ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนสำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีแล้วซึ่งเซลล์ตัวอ่อนกว่า 50% มีโอกาสทำให้ลูกในครรภ์เสี่ยงต่อการเป็นดาวน์ซินโดรม
- ผู้หญิงที่ผ่านการแท้งมาแล้วถึง 2 ครั้ง การตัดสินใจทำเด็กหลอดแล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้
- สำหรับครอบครัวที่ผ่านการทำเด็กหลอดแก้วมาแล้วแต่ตัวอ่อนฝังตัวไม่สำเร็จ และยังมีตัวอ่อนที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ก็ยังทำได้อีก
สรุป ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนขั้นตอนของการวางแผนตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ขั้นตอนของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ซึ่งจะทำให้รู้ว่าโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติเกิดจากอะไรเพื่อที่จะทำการวิเคราะห์สำหรับการทำเด็กหลอดแก้วให้กับหลายครอบครัวที่มีปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ได้ โดยการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนปกติก่อนนำส่งการฝังตัวในโพรงมดลูกและเฝ้าระวังพร้อมการปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำเพื่อให้การตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์และแข็งแรง