ภัยที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า มักจะเป็นภัยที่เรามองข้ามเสมอ PM 2.5 ก็เหมือนเป็นสิ่งที่เห็นได้ แต่เราไม่ได้สัมผัสความเจ็บปวดชัดเจน ก็ยิ่งทำให้หลายคน มองไม่เห็นความสำคัญ จนเกิดปัญหาเรื้อรังทั้งผู้ก่อ และผู้ประสบภัย โดยเราจะมาเรียนรู้ว่าฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร พร้อมหาทางแก้ไข หนทางใดในการแก้ปัญหา PM 2.5 อย่างไร ทั้งต้นเหตุ รวมไปถึงปลายเหตุที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพของเราและคนรอบข้างให้มากกว่าเดิม
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองแบบไหน มีลักษณะอย่างไร
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งตัว PM 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matter เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก อนุภาคขนาดเล็กของ PM 2.5 จะส่งผลกับร่างกายของมนุษย์โดยตรง ด้านเยื่อบุตา, จมูก, ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ และอวัยวะหรือระบบภายในร่างกายในระยะยาว โดยความรุนแรง ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณของฝุ่น PM 2.5 ด้วยอากาศหยุดนิ่ง หรือภูมิประเทศที่มีแอ่งจนบรรยากาศถ่ายเทไม่ได้
และในกรณีที่ฝุ่นมี AQI มาก จะทำให้เราสามารถเห็นปัญหาด้านสภาพอากาศได้ชัดเจนจาก PM 2.5 นั่นก็คือฝุ่นที่เป็นเหมือนหมอก ปกคลุมชั้นบรรยากาศ จนไม่เห็นท้องฟ้า และแสงอาทิตย์ที่ลอดเข้ามาได้ไม่เต็มที่ นอกจากจะเป็นอันตรายให้กับผู้คนที่พักอาศัยในพื้นที่ในระยะยาวแล้ว ฝุ่น PMยังส่งผลเสียในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีโรคหรืออาการป่วยเรื้อรังอยู่แล้ว ทำให้อาการทรุดลง อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย และรักษาอาการป่วย
PM 2.5 เกิดจากปัจจัยด้านใดบ้าง
สาเหตุของการเกิด PM 2.5 ถูกแบ่งออกเป็นปัญหาใหญ่ ๆ 2 ส่วน โดยส่วนแรกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในที่โล่งแจ้ง ในส่วนของบุคคล คือการเผาขยะ, การเผาไหม้ทางเชื้อเพลิงเช่น พาหนะโดยสาร ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม คือการเผาไหม้ในงานผลิต เช่นการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งส่งผลเสียด้านมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง PM 2.5 และในกลุ่มของประชาชน ยังไม่มีการควบคุมการผลิตเชื้อเพลิง ส่งผลให้เกิดปัญหาและ PM 2.5 ที่ควบคุมไม่ได้
ส่วนที่ 2 คือสารเคมีที่เป็นบ่อเกิดอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 โดยมีไนโตรเจน, ซัลเฟอร์ ที่เป็นสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ก่อผลกระทบกับร่างกายมนุษย์ รวมไปถึง แอมโมเนียและสารอันตรายอื่น ๆ อย่างสารก่อมะเร็ง ทั้งนี้ สาเหตุของ PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ ก็มาจากความกดอากาศต่ำ ด้วยแรงลม หรือค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ไม่สามารถถ่ายเทออกไปได้ง่ายในบางพื้นที่ และไม่มีนโยบาย หรือวิธีระบายอากาศออกไปได้ เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากทั้ง 2 ส่วน
PM 2.5 ระดับค่าฝุ่นมีเท่าไหร่ ระดับไหนอันตราย

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษของประเทศไทย จะมีค่า AQI เพื่อประเมินผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 ตรวจละอองในพื้นที่ ที่มีการวัดค่าใกล้กับสถานที่เรามากที่สุด ค่าฝุ่น PM จะมีตั้งแต่ ค่าที่สามารถใช้ชีวิตปกติทั่วไปได้ จนไปถึงค่า AQI ที่ส่งผลกระทบร้ายแรง
Air Quality Index หรือ AQI ในแต่ละระดับ
- PM 2.5 ในระดับ AQI ที่ 0-25 ค่าแสดงสถานะเป็นสีฟ้า คือคุณภาพอากาศที่ปลอดภัย บริสุทธิ์ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
- PM 2.5 ในระดับ AQI ที่ 26-50 ค่าแสดงสถานะเป็นสีเขียว มีมลพิษทางอากาศที่อยู่ในขั้นปลอดภัย ยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
- PM 2.5 ในระดับ AQI ที่ 51-100 ค่าแสดงสถานะเป็นสีเหลือง มีฝุ่นและมลพิษทางอากาศที่อยู่ระดับปานกลาง ยังไม่ส่งผลเสียกับร่างกายมากนัก ควรป้องกันฝุ่นด้วยหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก
- PM 2.5 ในระดับ AQI ที่ 101-200 ค่าแสดงสถานะเป็นสีส้ม ส่งผลต่อสุขภาพแน่นอน ต้องมีการป้องกันเบื้องต้น ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- PM 2.5 ในระดับ AQI ที่ 201 ขึ้นไป ค่าแสดงสถานะเป็นสีแดง และร้ายแรงจนไปถึงสีม่วง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ผู้ที่อยู่ในพื้นที่จะมีอาการระคายเคืองตา และมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเบื้องต้น หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมภายนอก ใช้เครื่องปรับอากาศ สวมหน้ากากอนามัย ให้อยู่ในที่ปิดและใช้เครื่องกรองอากาศ
บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังฝุ่น PM 2.5 และควรหลีกเลี่ยง
เด็กและผู้ชรา ที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเสื่อมสภาพ จะเป็นกลุ่มบุคคลที่จะได้รับผลกระทบเกี่ยวกับ PM 2.5 มากที่สุด ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พร้อมที่จะเจอกับมลภาวะและอากาศที่เป็นพิษ
ผู้หญิงที่มีครรภ์ ผลกระทบ PM 2.5 ถือว่ามีความอันตราย ทั้งกับแม่ และบุตรในครรภ์ ที่อาจจะทำให้เกิดคลอดก่อนกำหนด, แท้ง และอาจเกิดความผิดปกติกับบุตรหลังคลอด
ผู้ป่วย และผู้ที่มีโรคประจำตัว PM 2.5 ส่งผลเสียกับระบบการทำงานภายในร่างกาย ซึ่งบุคคลที่มีความผิดปกติ หรือป่วยเรื้อรังอยู่แล้ว การรับค่า PM จะทำให้กระตุ้นอาการป่วยให้รุนแรงขึ้น รวมไปถึงการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
PM 2.5 ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างไรบ้าง
ปอดและทางเดินหายใจ ถือเป็นปัญหาของ PM 2.5 โดยตรง เพราะฝุ่นละอองของ PM 2.5 ผลกระทบที่สูดเข้าไปทางระบบทางเดินหายใจ จะทำให้หอบหืดกำเริบ หายใจติดขัด มีเลือดกำเดาไหล ซ้ำร้ายคือปัญหาของมะเร็งปอด ที่คร่าชีวิตคนหลายคน
สมองและโรคอัมพาต เนื่องจากเลือดหนืด ความดันโลหิตสูง ด้วยสาเหตุที่ PM 2.5 ไหลเข้าสู่กระแสเลือด เกิดความเสี่ยงในการเป็นลิ่มเลือดในสมอง ทำให้สมองตีบ
โรคหัวใจ เนื่องจากสาเหตุของละออง PM 2.5 ที่เข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีโอกาสในการเกิดหัวใจวายได้
สรุปป้องกันได้ หากรู้สาเหตุ
ฝุ่น PM 2.5 คือผลกระทบหลัก ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แม้เราจะไม่เห็นผลในทันที แต่ในระยะยาว ย่อมส่งผลกับสภาพร่างกายแน่นอน ดังนั้น วิธีแก้ปัญหา สามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการหยุดการเผาไหม้ให้ได้มากที่สุด พร้อมสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง และอยู่ในที่ ที่มีเครื่องฟอกอากาศ สำคัญที่สุดคือการให้ความรู้เกี่ยวกับ PM 2.5 กับคนที่ยังไม่เข้าใจสาเหตุและปัญหาอย่างลึกซึ้ง ให้ได้รู้จัก และรับมืออย่างถูกต้องต่อไป