รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร เลือกอย่างไรให้ตรงใจ

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร

สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูง และการผ่อนบ้านที่เป็นภาระมากจนเกินไป รีไฟแนนซ์บ้าน คือตัวเลือกที่ดีและมีความแน่นอนที่สุดในตอนนี้ ซึ่งเทคนิคในการรีไฟแนนซ์บ้าน จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่รู้จักการรีไฟแนนซ์บ้าน ว่าต้องเริ่มจากตรงไหน เราจะมาแนะนำการรีไฟแนนซ์บ้าน และแนะนำดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์บ้าน ทุกธนาคาร ว่ามีส่วนไหนที่น่าสนใจต่อการทำรึเปล่า

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร มีขั้นตอนเบื้องต้นอย่างไร

รีไฟแนนซ์บ้าน ขั้นตอน

Refinance บ้าน หรือที่เราเรียกว่า รีไฟแนนซ์บ้าน คือการทำสัญญาใหม่ภายใต้เงื่อนไขของการสิ้นสุดสัญญาสินเชื่อกับธนาคารเก่า และดำเนินการทำสัญญากู้ซื้อกับธนาคารใหม่ ซึ่งข้อดีของการทำการรีไฟแนนซ์บ้าน หลัก ๆ คือการลดดอกเบี้ยลง และทำให้เราสามารถผ่อนบ้านได้สบายกระเป๋ามากขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ย เป็นปัญหาสำคัญของผู้ที่ผ่อนบ้าน เพราะนอกจากจะต้องมีภาระเพิ่ม ยังต้องกินเวลาผ่อนบ้านยาวนานขึ้นไปอีก

โดยข้อจำกัด หรือเงื่อนไขของการที่เราจะทำการรีไฟแนนซ์บ้านเบื้องต้น ผู้ที่ผ่อนชำระกับธนาคารเดิมเป็นระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป หรือขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารเดิม ซึ่งเบื้องต้น เราจะต้องตรวจสอบเงื่อนไขที่ทำไว้กับธนาคาร เพื่อพิจารณาว่าจะผ่านเกณฑ์ในการขอทำสัญญา รีไฟแนนซ์บ้าน เพิ่มวงเงินหรือลดดอกเบี้ยได้หรือไม่ จากนั้นจึงมาดูอัตราดอกเบี้ยของการทำสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านในแต่ละธนาคาร มาเปรียบเทียบเพื่อขอรีไฟแนนซ์

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในการรีไฟแนนซ์บ้าน แต่ละธนาคารมีอะไรบ้าง

ดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์บ้าน ทุกธนาคารที่อัปเดตจะใช้อัตราดอกเบี้ย MRR เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลดอัตราสินเชื่อการกู้ซื้อคอนโด หรือกู้ซื้อบ้านตามเกณฑ์ โดยการเริ่มรีไฟแนนซ์บ้าน คือการทำความเข้าใจเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการเลือกรีไฟแนนซ์บ้าน จากเงื่อนไขได้ดีที่สุด โดยเราได้จำแนกธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจในการทำรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อลดดอกเบี้ยแบ่งออกเป็นอัตรา 3 ปีได้ดังนี้

คำนวณอัตราดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์บ้าน ที่น่าสนใจ

ชื่อธนาคาร ดอกเบี้ยต่ำที่สุดเฉลี่ย 3 ปีแรก วงเงินในการกู้สูงสุด
ธนาคารกสิกรไทย 3.45%  เงื่อนไขไม่เกิน 100 เปอร์เซ็นต์จากราคาประเมินหลักประกัน วงเงินกู้ ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป 
ธนาคารไทยพาณิชย์ 6.205% เงื่อนไขรีไฟแนนซ์บ้านไม่เกินวงเงินสินเชื่อเท่ายอดหนี้เดิม
ธนาคารอาคารสงเคราะห์  3.05%  วงเงินสำหรับการกู้ สูงสุดไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อหลักประกัน
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 3.50%   วงเงินสำหรับการกู้สูงสุด 95 % ของราคาประกัน โดยเงื่อนไขที่พักอาศัยมูลค่า 1.5 ล้านบาทขึ้นไป
ธนาคารทหารไทยธนชาต 3.50% เงื่อนไขสำหรับลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี TTB โดยวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท
ธนาคารกรุงไทย    3.60%  เงื่อนไขคือกรณีที่ได้ทำประกัน รีไฟแนนซ์บ้านด้วยวงเงินกู้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์
ธนาคารกรุงเทพ  3.57%  เงื่อนไขตามหลักทรัพย์บ้านที่อยู่ในโครงการที่มีข้อตกลงของธนาคาร และได้ทำประกันวงเงิน 1 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับวงเงินกู้สูงสุด 100 % ของภาระหนี้คงเหลือ
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ 3.55% เงื่อนไขผู้กู้ มีรายได้ต่อเดือน 75,000 บาท รีไฟแนนซ์บ้านได้รับวงเงินกู้ 100 % จากราคาประเมิน

แนะนำก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องเตรียมตัวอย่างไร

refinance บ้าน

ก่อนที่เราจะเริ่มต้นตัดสินใจ จะต้องมีการเตรียมพร้อมหรือพิจารณาว่าเราจะทำการ รีไฟแนนซ์ หรือ รีเทนชัน ว่าแบบไหนเราจะได้ประโยชน์ที่สุดก่อน รวมไปถึงแง่ของการเตรียมเอกสาร และตรวจสอบเงื่อนไขของ รีไฟแนนซ์บ้าน ว่าเข้ากันกับธนาคารที่เราตัดสินใจหรือไม่ จะเห็นได้ชัดว่าทั้งเอกสาร ยื่น รีไฟแนนซ์บ้าน และการตรวจเช็กเงื่อนไขเบื้องต้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะเราจะต้องผ่อนชำระกับธนาคารที่เราเลือกยาวนาน

พิจารณาเลือกระหว่างการทำรีไฟแนนซ์บ้านหรือทำรีเทนชัน

เริ่มต้น ก่อนเราจะพิจารณาการทำรีไฟแนนซ์บ้าน และดูเงื่อนไขเพิ่มเติม อย่าลืมดูอีกวิธีที่เราอาจจะมองข้ามไปอย่างการทำรีเทนชัน โดย Retention คือการยื่นขอลดดอกเบี้ยการผ่อนบ้าน โดยขอลดหย่อนจากธนาคารเดิม ข้อดีของการขอ ลด ดอกเบี้ย บ้าน กับ ธนาคาร เดิม คือเราไม่ต้องเตรียมเอกสารมากมาย อีกทั้งการขอรีเทนชัน ก็ใช้เวลาไม่นานในการพิจารณาอนุมัติ แต่หากสัญญาไม่ตรงใจ ตัวเลือกต่อไปก็ต้องมาดูการทำรีไฟแนนซ์บ้านต่อ

เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน

เอกสารที่ต้องเตรียมพร้อมในการรีไฟแนนซ์บ้าน มีทั้งที่ต้องเตรียมก่อนและหลังได้รับการอนุมัติ เพราะด้วยความที่ขั้นตอนการขอลดดอกเบี้ยบ้าน รีไฟแนนซ์ มีหลายขั้นตอน แต่เบื้องต้น เอกสารที่จำเป็นต้องมี เอกสารแสดงข้อมูลส่วนตัวอย่างบัตรประชาชน รวมไปถึงเอกสารแสดงรายได้จากบัญชีธนาคารย้อนหลัง และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเอกสารแสดงโฉนดที่ดิน ที่เป็นเอกสารแสดงหลักประกันที่เราจะนำไปทำรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร

และยังมีรายละเอียดเอกสารอีกมากมาย หากอธิบายให้เข้าใจง่าย คือเอกสารที่แสดงตัวตนของเรา แสดงรายได้ของเรา และแสดงความเป็นเจ้าของทะเบียนบ้าน เอกสารจำพวกนี้ ให้เก็บไว้สำหรับการใช้งานทั้งหมด

ควรศึกษาข้อมูลการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดครบ 3 ปี

หากเราต้องการจะรีไฟแนนซ์บ้าน ควรศึกษาข้อมูลก่อนครบกำหนด เพื่อจะได้ทำการเปลี่ยนสัญญาทันที เมื่อครบกำหนดการณ์ที่เราจะตัดสินใจ อีกทั้งยังมีเวลาการเตรียมการนานไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ขั้นตอน การรีไฟแนนซ์บ้าน รวมไปถึงเอกสาร รีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อเตรียมพร้อมในการทำสัญญา แน่นอนว่า ในบางกรณี เราสามารถทำการยื่นรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนด 3 ปีได้ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะผลประโยชน์ในการทำน้อย

ศึกษาขั้นตอนการทำรีไฟแนนซ์บ้าน

แน่นอนว่า ขั้นตอนวิธี รีไฟแนนซ์บ้าน ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อเราพร้อมหลังจากเลือก ธนาคารที่จะเข้าไปทำสัญญาใหม่ จะต้องเข้าใจกระบวนการการทำรีไฟแนนซ์บ้าน โดยมีขั้นตอนคร่าว ๆ อ้างอิงจากหลากหลายขั้นตอนของธนาคารต่าง ๆ ไว้ดังนี้

  1. เริ่มต้นให้เราทำการติดต่อไปที่ธนาคารเดิมตามที่เราทำสัญญาผ่อนชำระ เพื่อสรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้าน และทำการชำระค่าใช้จ่าย ตามที่ธนาคารแต่ละที่กำหนด โดยบางธนาคาร เราอาจไม่ได้เสียค่าใช้จ่าย ๆ ใด ๆ เลย
  2. พิจารณา ศึกษาอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแต่ละที่ ที่เราจะไปทำการรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นเหมือนการตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจยื่นเอกสารรายการยอดหนี้ เพราะหากยื่น หรือดำเนินการกับธนาคารใหม่ไปแล้ว จะไม่สามารถทำรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ได้จนกว่าจะหมดสัญญา
  3. ขั้นตอน การรีไฟแนนซ์บ้านจะเริ่มดำเนินการจริง เมื่อได้รายการยอดหนี้จากธนาคารเดิมแล้ว เราจะพร้อมที่จะเข้าไปทำรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ โดยการนำเอกสารที่ได้ ไปยื่นกับธนาคารใหม่ที่เราต้องการทำ
  4. จากนั้นเจ้าหน้าที่ของธนาคาร จะมีการเข้ามาประเมินบ้านหรือทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน เราควรให้ความสำคัญกับทรัพย์สินในการจะนำไปให้ธนาคารประเมินเสมอ โดยเฉพาะบ้าน คอนโด ที่พักอาศัยอื่น ๆ
  5. รอฟังผลอนุมัติการทำรีไฟแนนซ์ของธนาคาร
  6. เมื่อเราได้รับการอนุมัติการทำรีไฟแนนซ์บ้านแล้ว ให้ติดต่อเอกสาร ยื่น รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมเพื่อนัดวันไถ่ถอน ณ สำนักงานที่ดิน และนำเอกสารที่เตรียม ไปไถ่ถอนสินเชื่อ โดยคิดยอดชำระจ่ายเป็นเงินต้นบวกกับดอกเบี้ย
  7. จากนั้นติดต่อกับธนาคารแห่งใหม่ที่เรายื่นทำรีไฟแนนซ์บ้าน และตกลงนัดวันทำสัญญาสินเชื่อใหม่พร้อมโอนบ้านที่จำนองกับธนาคารทั้ง 2 แห่ง ใหม่และเก่าในวันเดียวกัน เพื่อทำการชำระหนี้
  8. หลังจากขอ รีไฟแนนซ์บ้าน และทำการนัดธนาคาร 2 แห่งมาแล้ว ให้ไปที่สำนักงานที่ดิน ที่ตั้งของทรัพย์สิน เพื่อจัดการทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์บ้าน และต้องมีเจ้าหน้าที่จากธนาคารสองแห่งไปจัดการทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์บ้านด้วย
  9. ขั้นตอน การรีไฟแนนซ์บ้านลำดับสุดท้าย คือการนำเอาโฉนดที่ได้จากสำนักงานที่ดินมอบให้กับธนาคารแห่งใหม่ที่เราทำรีไฟแนนซ์บ้าน จากนั้นก็เสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมด

หาตัวช่วยในการทำรีไฟแนนซ์บ้าน

ในการทำรีไฟแนนซ์บ้าน หากเรายังไม่เข้าใจหลักการทำทุกอย่าง หรือไม่เข้าใจทั้งหมด ในปัจจุบัน ก็มีบริการช่วยทำรีไฟแนนซ์บ้านมากมาย ที่ช่วยดูธนาคารที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการทำการรีไฟแนนซ์บ้าน ช่วยในการดำเนินการที่ยุ่งยากให้ง่าย พร้อมมีบริการให้คำแนะนำในการเลือกลดดอกเบี้ยทรัพย์สินได้สะดวก รวดเร็ว

สรุป รีไฟแนนซ์บ้าน คือทางเลือกลดดอกเบี้ยได้ดีที่สุด

โดยภาพรวมแล้ว การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นทางเลือกที่ถูกต้องในการลดดอกเบี้ย แต่การตัดสินใจและการพิจารณาเลือกธนาคารที่จะไปทำรีไฟแนนซ์บ้าน ถือเป็นเรื่องสำคัญกว่า เพราะหากทำไปแล้ว ก็ต้องผ่อนชำระตามสัญญากับธนาคารใหม่ และหากเรายังไม่มั่นใจว่าเลือกรี ดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารได้คุ้มค่าที่สุด ก็มีบริการช่วยรีไฟแนนซ์ ที่ช่วยให้คำปรึกษา เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และยังให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์

รับฟรี! รวมโพสขายดี