10 วิธีใช้แอร์อย่างไรให้ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น

วิธีใช้แอร์อย่างประหยัด

แอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขาดไม่ได้เลยในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อน และทุกคนก็อยากหนีจากอากาศที่ร้อนอยู่แล้ว ทำให้ต้องมีแอร์ต้องมีติดตามบ้าน หรือตามอาคารต่าง ๆ 

เนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า การใช้มาก ๆ ก็จะทำให้ค่าไฟแพงมากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าฤดูร้อน บิลค่าไฟจะแพงมากเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ติดตั้งแอร์บ้าน อย่างไรก็ตามในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าวิธีอะไรบ้าง ที่ช่วยให้เราสามารถประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าไฟจากการใช้แอร์ปรับอากาศ



1. เลือกแอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

สำหรับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ไม่ได้มีแค่แอร์เท่านั้น แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นก็สามารถมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้เช่นกัน ฉลากไฟเบอร์เป็นเครื่องหมายที่ใช้การันตีว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีคุณภาพที่ดี ช่วยประหยัดพลังงาน ใช้ไฟน้อยกว่าแต่ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สำหรับแอร์ติดบ้านที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 มั่นใจว่า เราจะได้ทั้งอากาศเย็น แต่ประหยัดค่าไฟได้อย่างแน่นอน

2. ตั้งค่าแอร์ให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม

สำหรับแอร์ เครื่องปรับอากาศ มันจะทำหน้าที่ในการปรับอุณหภูมิห้องให้เท่ากับที่เราตั้งค่าไว้ โดยการตั้งค่าของแอร์ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับแอร์บ้านก็คือ 25 – 26 องศา การปรับอุณหภูมิให้ต่ำเกินไป เช่น 18 – 20 องศา จะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ซึ่งหมายถึงการกินพลังงาน เปลืองค่าไฟ เป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะวันที่อากาศภายนอกอาคารสูงมาก แอร์จะยิ่งต้องทำงานหนักเป็นพิเศษ ดังนั้นการตั้งค่าอุณหภูมิของแอร์จึงควรตั้งอย่างเหมาะสม เพราะการปรับให้อุณหภูมิต่ำมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าแอร์จะเย็นเร็วขึ้นแต่อย่างใด

3. ใช้พัดลมควบคู่กับการใช้แอร์

การใช้แอร์ปรับอากาศในห้องเพียงอย่างเดียว ก็เพียงพอที่จะให้อากาศในห้องเย็นได้ แต่ถ้าเราเปิดพัดลมควบคู่ไปด้วย พัดลมจะช่วยเป่ากระจายความเย็นให้ไปทั่วถึง และทำให้อากาศในห้องเย็นเร็วขึ้น ดังนั้นหากเปิดแอร์แล้ว ให้เปิดพัดลมก่อนในช่วงแรก เมื่ออากาศในห้องเย็นอย่างที่ต้องการแล้ว ค่อยปิดพัดลม

4. ระหว่างเปิดแอร์ ไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้

การทำงานของแอร์ หรือ Air condition นั้นตรงตามชื่อ คือ การปรับอุณหภูมิของห้องนั้น ๆ โดยการปล่อยลมเย็นให้หมุนเวียนในห้องจนอุณหภูมิห้องเป็นตามค่าที่เราตั้งไว้ ซึ่งการเปิดประตู หรือหน้าต่างทิ้งไว้ ลมเย็นที่ถูกปล่อยจากแอร์ก็จะไหลออกจากห้อง ทำให้การปรับอุณหภูมิห้องทำได้ยากขึ้น เพราะปล่อยลมเย็นแค่ไหน มันก็จะถูกปล่อยออกหมด 

ดังนั้นตรวจสอบให้ดีว่าระหว่างเปิดแอร์อยู่เราไม่ได้เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้

5. เลือกแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง

เลือกแอร์ให้เหมาะกับห้อง

แอร์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น แอร์ติดผนัง แอร์ติดพื้น หรือแอร์ที่ฝังกับเพดาน และขนาดของแอร์ก็มีหลากหลาย ตัวเลือกของแอร์ที่มีให้เลือกมาก เพื่อให้ตอบโจทย์กับห้องหลายขนาด การเลือกแอร์ที่มีขนาดเล็กเกินไป และติดตั้งในห้องขนาดใหญ่ แอร์ก็จะต้องทำงานหนักมาก เพราะกว่าอากาศเย็นจะไหลเวียนไปทั่วทั้งห้องจะใช้เวลานาน

ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งแอร์บ้าน ก็ควรใช้แอร์ติดผนัง และดูว่าขนาดห้องที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศมีขนาดเท่าไหร่ โดยทั่วไปแอร์ขนาดพื้นฐานจะมีขนาด 9000 BTU โดยจะเหมาะกับห้องที่มีขนาด 15 – 20 เมตร หากห้องมีขนาดใหญ่กว่า 20 เมตร ก็ควรพิจารณาเลือกแอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ราคาแอร์ก็อาจสูงขึ้นตามขนาดแอร์

6. คอยล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ

การล้างแอร์ก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความถี่การล้างฟิลเตอร์แอร์อยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เดือน เพราะทุกครั้งที่แอร์ทำงาน จะดูดเอาฝุ่น หรือสิ่งสกปรกเข้าไปด้วย และสิ่งเหล่านั้นจะไปติดอยู่ที่ฟิลเตอร์ เมื่อแอร์ปล่อยอากาศเย็นออกมาก็ต้องผ่านฟิลเตอร์ซึ่งหากมีสิ่งสกปรกไปอุดตัน อากาศเย็นจะถ่ายเทออกมายาก ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น

โดยเราสามารถสังเกตได้ว่าในช่วงฤดูร้อน หลายบ้านจะเรียกใช้บริการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ เพราะต้องการเตรียมความพร้อม เพื่อให้แอร์ทำงานได้เต็มที่ ห้องเย็นไว ค่าไฟถูกลง

ควรทำความสะอาดฟิลเตอร์แอร์ทุก 1-2 เดือน เพื่อให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และไม่ต้องใช้พลังงานมากเกินไปในการปรับอุณหภูมิห้อง

7. หมั่นเช็กบำรุงตรวจสภาพแอร์

อ้างอิงจากข้อที่ผ่านมา การล้างแอร์ ลดสิ่งอุดตันจะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น แต่ไม่ใช่เพียงแค่การล้างทำความสะอาดฟิลเตอร์เท่านั้น Air Condition ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเช่นกัน การตรวจเช็กสภาพว่าแอร์ว่าทำงานได้ปกติหรือไม่ จะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาว่า เปิดแอร์มาตั้งนานแล้ว แต่ห้องก็ไม่เย็นเสียที ซึ่งสาเหตุอาจจะมีบางส่วนประกอบที่เสื่อมสภาพหรือเสียหาย

8. ตั้งเวลาการปิดแอร์

แอร์จะมีฟังก์ชันที่สามารถตั้งเวลาปิดแอร์ได้ ซึ่งฟังก์ชันนี้จะเหมาะสมกับช่วงกลางคืนมาก เมื่อเรานอนหลับไปแล้ว อุณหภูมิห้องก็เย็นได้ที่ การจะเปิดแอร์ทิ้งไว้ก็อาจไม่จำเป็น เราอาจสามารถใช้พัดลมช่วยได้ ดังนั้นเราสามารถตั้งเวลาให้แอร์ปิดเองได้ หลังจากเรานอนหลับแล้ว

นอกจากนี้สำหรับบางคนที่อาจต้องรีบไปทำงาน การปิดไฟ หรือปิดเครื่องปรับอากาศก่อนออกจากบ้านก็อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการตั้งเวลาปิดแอร์ ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าว

9. ใช้แอร์ในช่วงเวลาที่จำเป็น

การเลือกเปิดใช้งานแอร์ในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องใช้ เป็นแนวคิดทั่วไปที่ใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าทุกชนิด หากไม่ได้ใช้ก็ควรปิด ยกตัวอย่างเช่น หากไม่มีใครอยู่ในห้องก็ควรเลือกที่จะปิดแอร์ ไม่ปล่อยให้เครื่องปรับอากาศทำงานไปเรื่อย ๆ แต่ไม่มีผู้ใช้

10. เลือกใช้แอร์ที่มีระบบอินเวเตอร์

เลือกแอร์

ระบบอินเวอเตอร์ของแอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำงานของคอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศเลย สามารถทำงานได้ดีขึ้น เช่น การปรับความเร็วของใบพัดเครื่องคอมเพรสเซอร์ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่มีในแอร์แบบปกติ ทำให้ลดจำนวนการเปิดปิดของเครื่องคอมเพรสเซอร์ ประหยัดไฟ และยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์ไปในตัว

อย่างไรก็ตามราคาเครื่องปรับอากาศที่มีระบบอินเวอเตอร์จะสูงกว่าแอร์ทั่วไป แต่หากมองในระยะยาวแอร์ราคาสูงกว่าเดิม จ่ายเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ถ้าสามารถประหยัดค่าไฟได้เรื่อย ๆ ก็ดูจะคุ้มค่ามากกว่า

ใช้และบำรุงรักษาแอร์อย่างถูกวิธี ลดค่าไฟได้มากกว่าที่คิด

จากที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเราใช้แอร์ หรือเครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม และมีการดูแลทำความสะอาด บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี เพียงเท่านี้คุณก็สามารถประหยัดค่าไฟจากการใช้งานแอร์ได้อย่างแน่นอน

รับฟรี! รวมโพสขายดี