โรควิตกกังวล อาการที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน เครียดบ่อยอย่ามองข้าม!

อาการวิตกกังวลเครียด

ความเครียดสะสมจากการทำงาน การเรียน ชีวิตครอบครัว ชีวิตส่วนตัว ปล่อยเอาไว้อันตรายกว่าที่คิด โรควิตกกังวลหนึ่งในโรคที่เกิดขึ้นได้จากภาวะเครียดสะสม หากคุณกำลังประสบปัญหาภาวะเครียดเรื้อรัง อย่านิ่งนอนใจ เพราะมันอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่นำพาไปสู่โรคอื่น ๆ อย่างโรคกลัวการเข้าสังคม โรคแพนิค โรคย้ำคิดย้ำทำ และอื่น ๆ บทความนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการสังเกต และวิธีดูแลตัวเองเมื่ออาการเครียดวิตกกังวลเกิดขึ้น



โรควิตกกังวล มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร 

อาการ anxiety หรือ อาการวิตกกังวลเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งอาการและสาเหตุก็จะแตกต่างออกไปในแต่ละตัวบุคคล เราสามารถแบ่งโรควิตกกังวลออกเป็น 6 ประเภท ได้ดังนี้

โรควิตกกังวลทั่วไป (CAD)

เป็นโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุหลักของอาการวิตกกังวลทั่วไป มักเกิดจากความเครียดสะสมเป็นเวลานาน เช่น ความเครียดจากเรื่องงาน ความเครียดจากปัญหาครอบครัว เป็นต้น อาการโรควิตกกังวลทั่วไปจะมีตั้งแต่อาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นต้น

โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobia)

เป็นโรควิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งสิ่งเร้าที่กระตุ้นอาการของผู้ป่วยแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป เป็นได้ทั้งกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานการณ์ และสถานที่ เช่น กลัวความมืด กลัวสัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น

โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

โรคกลัวสังคมหรือโรคกังวลเมื่ออยู่กับคนหมู่มาก ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลประเภทนี้ มักจะมีอาการคลื่นไส้ หน้าแดง เหงื่อออก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดหัว หน้ามืด หรือมีความคิดในแง่ลบ เมื่อต้องพบปะหรือทำกิจกรรมต่อหน้าคนหมู่มาก

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรควิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ หรือ โรคขี้กังวล ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลประเภทนี้ มักจะมีอาการวิตกกังวลกลัว ไม่สบายใจ กระสับกระส่าย หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ได้หากไม่ได้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งซ้ำ ๆ จนมั่นใจ เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ เพราะรู้สึกว่าการล้างครั้งเดียวไม่สะอาด จนต้องกลับไปล้างมือซ้ำหลายรอบจนรู้สึกสบายใจ 

โรคแพนิค (PD)

โรควิตกกังวลประเภทตื่นตระหนก เป็นความวิตกกังวลในจิตใจที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาการของโรคแพนิคจะมีตั้งแต่อาการใจสั่น หน้ามืด หายใจไม่ทั่วท้อง แน่นหน้าอก เหงื่อออก เป็นลม หากปล่อยอาการเหล่านี้ไว้นานอาจพัฒนาไปสู่โรคเครียดสะสม หรือโรคซึมเศร้าได้

โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD)

โรควิตกกังวลประสบการณ์สะเทือนใจ เป็นอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจแบบไม่ทันตั้งตัว เช่น อุบัติเหตุ เหตุการณ์เฉียดตาย คนรักเสียชีวิต เป็นต้น อาการที่เกิดขึ้นสำหรับโรควิตกกังวลประเภทนี้ จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัวบุคคล มีตั้งแต่ความเฉยชา การไม่ตอบสนอง หวาดกลัว หวาดระแวง เป็นต้น 


โรควิตกกังวลเกิดจากอะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

โรควิตกกังวลเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่สามารถระบุได้ในภาพรวมว่าอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด เพราะแต่ละบุคคลก็จะมีสิ่งเร้ากระตุ้นอาการที่แตกต่างกันออกไปทั้งความเครียด สภาพแวดล้อม สภาพสังคม เรื่องสะเทือนใจในวัยเด็ก สิ่งเร้า สารในสมอง กรรมพันธุ์ และอื่น ๆ 


อาการเบื้องต้นของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลซึมเศร้า

สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าอาการตนเองเป็นอยู่ เข้าข่ายโรควิตกกังวลหรือไม่ หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงอาการเบื้องต้นของผู้ที่เข้าข่ายโรควิตกกังวล จะมีอาการอะไรบ้างมาดูกัน

  • หงุดหงิดง่าย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ที่แสดงออกมาได้
  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย 
  • รู้สึกไม่สบายใจ มีความเครียดภายในจิตใจ
  • ไม่มีสมาธิ
  • อ่อนล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • เหงื่อออกตามมือและเท้า หรือมือเท้าเย็นผิดปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง 
  • ใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง

โรควิตกกังวลรักษาให้หายขาดได้ไหม?

โรควิตกกังวลเป็นได้ก็หายขาดได้หากดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี อย่างที่เรารู้กันว่าโรควิตกกังวลนั้นมีหลายขั้นและหลายประเภท ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากคุณกำลังสงสัยว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่เข้าข่ายโรควิตกกังวล ควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกจุด เพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้พัฒนาไปสู่โรคอื่น ๆ 


วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลรักษาเองได้หากดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี หากคุณกำลังมีภาวะวิตกกังวล อย่ารอให้อาการเหล่านั้นพัฒนาไปเป็นโรคอื่น ๆ วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการจากโรควิตกกังวล มีดังนี้

  • ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเครียด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
  • ทำกิจกรรมหรืออยู่กับคนที่ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายสบายใจ
  • ปรับเปลี่ยนความคิดหรือทัศนคติในการมองตนเอง

สรุปสาเหตุและแนวทางการรักษาโรควิตกกังวล

หลังอ่านบทความนี้จนจบเพื่อน ๆ คงเห็นแล้วว่า โรควิตกกังวลไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากรู้สาเหตุและวิธีการรักษาโรควิตกกังวลอย่างถูกต้อง หากคุณกำลังสงสัยว่าอาการที่ตนเองเป็นนั้น เข้าข่ายโรควิตกกังวลหรือไม่ การพบแพทย์เป็นหนึ่งในวิธีและแนวทางการรักษาที่สำคัญ ที่จะทำให้คุณทราบว่าอาการที่กำลังพบเจออยู่เข้าข่ายโรควิตกกังวลหรือไม่ 


รับฟรี! รวมโพสขายดี