งบการเงิน ส่วนที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ

ในบทความนี้พวกเราจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินที่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่งงบการเงินนี้จะหมายถึง รายงานทางการเงินและบัญชีที่มีแบบแผน เพื่อแสดงถึงสถานะทางการเงินของบริษัทและนำไปวิเคราะห์ผลดำเนินงานที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจในการจัดงบประมาณครั้งต่อไป โดยพวกเราจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงิน ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญ และวิธีอ่านงบการเงินทำอย่างไรให้เข้าใจง่าย มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย



ส่วนประกอบสำคัญของงบการเงิน มีอะไรบ้าง?

โดยส่วนประกอบที่สำคัญของงบการเงินประกอบด้วย 5 ส่วน คือ งบดุลหรืองบแสดงฐานะทางการเงิน งบกระแสเงินสด งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง หมายเหตุประกอบงบการเงิน แต่ละส่วนมีหน้าที่สำคัญทำให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจการวางแผนการเงินได้ง่ายมากขึ้นมีแนวทางในการพัฒนาองค์กรต่อไปได้ ช่วยให้บริหารเงินทำให้ธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสเสี่ยงต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับแต่ละส่วนกันว่ามีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง

1. งบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน

งบดุลเป็นงบพื้นฐานที่ผู้ประกอบการควรรู้เป็นอย่างแรก โดยสามารถคำนวณได้จาก สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ซึ่งความสำคัญของงบดุลมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรู้ถึงสถานะทางการเงินเบื้องต้นของธุรกิจเบื้องต้นได้ จากสมการดังกล่าว หากส่วนของเจ้าของมีมากกว่าจำนวนหนี้สิน ก็แสดงว่ากิจการมีความมั่นคงสูง มีความสามารถในการชำระหนี้ แต่หากจำนวนของหนี้สินมีมากกว่าส่วนของเจ้าของ จะแสดงให้เห็นว่ากิจการมีความเสี่ยง และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้

2. งบกระแสเงินสด

สงสัยหรือไม่ว่ากิจการสามารถทำกำไรได้มากแต่ ทำไมไม่มีเงินหมุนเวียนในบริษัทเลย ปัญหานี้จะกระจ่างขึ้นหากทำงบกระแสเงินสดซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทราบได้ว่ามีเงินเข้ามา และมีการใช้จ่ายเงินออกไปด้วยสาเหตุอะไรบ้าง ทำให้สามารถเข้าใจและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่นเมื่อพบว่าจ่ายเงินทุนไปมากในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ก็จะสามารถวางแผนโดยชะลอการลงทุน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ และเตรียมพร้อมกับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในอนาคต

3. งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุนจะช่วยให้แสดงถึงยอดขายรายได้ของธุรกิจด้วยสมการ รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร(ขาดทุน) หากเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนแล้วก็จะต้องมีการคำนวณการจ่ายภาษีด้วย โดยงบกำไรขาดทุนจะเป็นงบที่อ่านได้ง่าย หากคำนวณแล้วมีค่าเป็นบวกก็จะแสดงให้เห็นว่าธุรกิจทำแล้วได้กำไร แต่หากคำนวณแล้วมีค่าเป็นลบก็จะแสดงให้เห็นว่าธุรกิจขาดทุน เมื่อคำนวณแล้วขาดทุนก็จะนำไปสู่การวิเคราะห์ว่ามีการขาดทุนจากการใช้จ่ายส่วนใด เช่น ต้นทุนสูงไป หรือรายได้ที่ผ่านมาลดลง

4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นงบการเงินที่ทำให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างไร เช่น ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสม ลดลงจากการขาดทุน หรือทุนลดลงเพราะปันผลให้ผู้ถือหุ้นมากเกินไป ทำให้ประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจได้แม่นยำขึ้น

5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่มีการอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ  ที่ไม่เห็นในงบการเงินอื่น เช่นอัตราคิดค่าเสื่อมราคา รายละเอียดลูกหนี้ รายละเอียดเหล่านี้ช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นและเข้าใจในรายละเอียดมากขึ้น ทำให้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อ่านงบการเงินให้เข้าใจ สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ 

งบการเงิน มีอะไรบ้าง

ต่อไปพวกเราจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินที่จะมีวิธีการอ่านงบการเงินให้เข้าใจ แต่ละหัวข้อจะต้องรู้อะไรบ้าง ซึ่งพวกเรายกตัวอย่างที่สำคัญมาให้เป็นตัวอย่าง เช่น รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี, เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์สิทธิ ต่างอย่าง, สินทรัพย์และทรัพย์สิน แตกต่างอย่างไร 

“รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี” คืออะไร 

โดยปกติงบการเงินจะต้องมีการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งเป็นผู้รวบรวมหลักฐานตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน จากนั้นแสดงความเห็นต่องบการเงินความถูกต้อง ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ 

“เกณฑ์คงค้าง” และ “เกณฑ์สิทธิ” แตกต่างกันอย่างไร 

เกณฑ์คงค้างใช้ในการจัดทำงบการเงินในหลักการบัญชีที่กิจการต้องบันทึกรายการค้าและเหตุการณ์ทางบัญชีสำหรับงวดบัญชีที่เกิดรายการนั้น โดยไม่คำนึงถึงรายรับและรายจ่ายเป็นเงินสดว่าได้รับมาแล้วหรือจ่ายไปแล้ว

ส่วนเกณฑ์สิทธิเป็นเกณฑ์สำหรับคำนวณรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลตามนัยมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ความแตกต่างระหว่าง “สินทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” 

สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของกิจการ สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจได้ในอนาคตจากทรัพยากรนั้น โดยไม่จำเป็นต้องมีกรมมสิทธิ์ตามกฎหมายในทรัพยากรนั้น เช่น สัญญาการเช่า

ส่วนทรัพย์สิน คือ สิ่งของมีค่าทั้งมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่าง เช่น รถยนต์ เงินสด เป็นต้น


สรุป งบการเงิน สำคัญอย่างไร

งบการเงินเป็นส่วนสำคัญที่สามารถวิเคราะห์การจัดทำงบประมาณการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ใช้ไปในแต่ละส่วน เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไปอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพื่อให้สามารถพัฒนาธุรกิจต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด


รับฟรี! รวมโพสขายดี