ท่อ pe ตัวเลือกน่าสนใจ ใช้งานได้หลายรูปแบบ ความทนทานสูง

ท่อ pe

ในปัจจุบัน ท่อ pe หรือรู้จักกันในชื่อท่อ hdpe กำลังกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยม สำหรับงานหลายประเภท เพราะมีความหนาแน่นสูง ทนทาน ใช้งานง่าย เหมาะกับงานในระบบประปาและการส่งน้ำ เช่น ท่อน้ำดื่ม หรือ ท่อ hdpe ประปา ท่อ PE มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ จึงเป็นตัวเลือกคุ้มค่าสำหรับงานระบบน้ำทุกประเภท



ท่อ PE คืออะไร

ท่อ hdpe
ขอบคุณภาพจาก https://www.srpegroup.co.th/hdpe-pipe-price/

ท่อ pe หรือเรียกอีกอย่างว่า ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) คือท่อพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความหนาแน่นสูง ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีน และท่อ พีอี มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ ดังนี้:

  • ทนทานต่อแรงดันสูง ทนต่อการกระแทก สารเคมี กรด ด่างและทนต่อแสงแดด เหมาะกับงานอุตสาหกรรม มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี
  • ปลอดภัยปราศจากสารพิษและโลหะหนัก ผิวเรียบมัน ไหลลื่น ไม่เป็นสนิม ไม่เกิดคราบตะกรัน มีไฟฟ้าสถิตย์ต่ำ ป้องกันการเกิดประกายไฟ
  • ใช้งานง่าย มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นสูง ดัดโค้งง่าย ติดตั้งง่าย ประหยัดเวลา ประหยัดค่าแรง
  • ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใช้ได้ทนทาน ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อย ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว ราคาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับท่อชนิดอื่น 
  • มีหลายขนาด เช่น ขนาดท่อ PE หรือขนาดท่อ hdpe มีให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ท่อ pe 1 นิ้ว, ท่อ pe 2 นิ้ว ท่อ pe 3 นิ้ว, ท่อ pe 4 นิ้ว และ ท่อ pe 6 นิ้ว ขนาด 16 มม. ไปจนถึง 110 มม. เหมาะกับงานหลากหลายประเภท
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ท่อพีอีผลิตจากวัสดุรีไซเคิลได้ 100% และไม่ปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม

ข้อดีของท่อ pe:

  • ทนทาน ใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี
  • ปลอดภัย ไร้สารพิษ เหมาะกับน้ำดื่ม
  • น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
  • ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ท่อ PE ใช้ในงานประเภทไหนได้บ้าง 

ท่อพีอี ใช้งานได้หลากหลายประเภท ได้แก่ทต่าง ๆ ดังนี้

  1. งานระบบประปา : สำหรับ ท่อ pe  เหมาะจะใช้เป็นท่อน้ำดื่ม รวมถึงระบบท่อน้ำใช้ต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารพิษ ผิวเรียบมัน น้ำไหลสะดวก ทนต่อแรงดันและสารเคมี รวมถึงไม่สะสมตะกอนอีกด้วย โดยนิยมใช้ท่อ hdpe 2 นิ้ว หรือท่อ pe ขนาด 2 นิ้ว
  1. งานเกษตรกรรม : ท่อ pe  มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อแรงดันและแสงแดดได้ดี ติดตั้งง่าย จึงเหมาะที่จะใช้เป็นท่อน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร ท่อดูดน้ำจากแหล่งธรรมชาติ รวมถึงท่อส่งน้ำในระยะไกล
  1. งานอุตสาหกรรม : ท่อ pe มีความทนทานต่อแรงดันสูง ทนต่อการเสียดสี ทนต่อการกัดกร่อน ทั้งยังทนทานต่อสารเคมี กรด ด่าง จึงเหมาะใช้เป็นท่อส่งสารเคมี ท่อส่งน้ำมัน รวมถึงท่อก๊าส เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ ไนโตรเจน เป็นต้น
  1. งานไฟฟ้า : ท่อ PE มีความทนทานต่อแรงกระแทก แม้ท่อ HDPE จะทนความร้อนได้ไม่สูงมาก แต่มีคุณสมบัติในการหน่วงไฟ นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดไฟฟ้าสถิตย์ต่ำ ป้องกันการเกิดประกายไฟได้ดี เหมาะกับการใช้เป็นท่อร้อยสายไฟทั้งภายในและภายนอกอาคาร

นอกจากการใช้งานที่กล่าวมา ผู้ผลิตบางรายยังคงพัฒนาคุณสมบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • ท่อ PROPIPE มีลักษณะผิวภายในเป็นพลาสติก HDPE เรียบล้วน เสริมแรงกดทับด้วยเหล็กกัลวาไนซ์ ดัดทรงเป็น V-Shape เคลือบสารติดเกาะชนิดพิเศษ และปิดผิวด้วยพลาสติก PE เหมาะสำหรับการใช้ระบายน้ำ หรือรวบรวมน้ำเสีย ถูกคิดค้นด้วยบริษัท SR
  • ท่อ HDPE ผนัง 2 ชั้น การพัฒนาจาก ท่อพีอี มาสู่ ท่อ FRPE (Flame Retardant HDPE Pipe) โดยผนังชั้นในจะใช้งานได้เหมือนท่อ PE ชั้นเดียวปกติ แต่ผนังชั้นนอกมีคุณสมบัติพิเศษในการหน่วงไฟ สามารถกันลามไฟ มีประสิทธิภาพการหน่วงไฟจนถึง 60วินาที ตามมาตรฐานการทดสอบ UL94 ที่คลาส V2 ถูกคิดค้นด้วยบริษัท SR PE Group

ท่อ pe หรือท่อ HDPE เป็นตัวเลือกคุ้มค่าสำหรับงานหลากหลายประเภท ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ส่วนประกอบของท่อ PE ที่ผลิตได้มาตรฐาน

ท่อพีอี
ขอบคุณภาพจาก https://www.srpegroup.co.th/advantages-of-hdpe-corrugated-steel-tube/

ท่อ pe  ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลเรียงตัวเป็นระเบียบแน่นหนา

องค์ประกอบหลักของท่อ PE มีดังนี้:

  • โมเลกุลโพลีเอทิลีน: โมเลกุลหลักของท่อพีอี ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนและไฮโดรเจน เรียงตัวเป็นสายยาว
  • สารเติมแต่ง: ท่อ pe มักมีการผสมสารเติมแต่งเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยป้องกันท่อเสื่อมสภาพจากแสงแดด สารเพิ่มความแข็งแรง (Reinforcement) ช่วยเพิ่มแรงดันที่ท่อสามารถทนทานได้ สารลดแรงเสียดทาน (Lubricant) ช่วยให้ท่อลื่นไหลง่ายขึ้น สารสี (Pigment) ช่วยเปลี่ยนสีท่อ 
  • สารเติมแต่งอื่น ๆ: อาจมีการผสมสารเติมแต่งอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น สารกันไฟฟ้าสถิตย์ (Antistatic agent) สารป้องกันรังสียูวี (UV stabilizer)
  • ปริมาณและชนิดของสารเติมแต่งที่ใช้ จะขึ้นอยู่กับประเภทของท่อ pe  และการใช้งาน เช่นท่อ hdpe ประปา

ท่อ pe มีคุณภาพดี ควรมีองค์ประกอบครบถ้วนและอยู่ในสัดส่วนเหมาะสม เพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามต้องการ ใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย

สรุปเกี่ยวกับท่อ pe หรือท่อ HDPE

ท่อ PE หรือท่อ hdpe เป็นท่อพลาสติกชนิดพิเศษมีคุณสมบัติโดดเด่นด้านความทนทานต่อสารเคมี ยืดหยุ่น และทนต่อแรงกระแทก มีน้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งและขนย้ายง่าย นิยมใช้ในระบบประปาและงานส่งน้ำทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ท่อพีอี ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรีไซเคิลใหม่ได้ ถือเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในงานก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน


รับฟรี! รวมโพสขายดี