รายการลดหย่อนภาษีแต่ละประเภท รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี

ลดหย่อนภาษี

การยื่นภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับคนมีเงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืออาชีพอิสระ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีภาษีที่จะต้องจ่ายและแผนทางการเงินไม่เหมือนกัน บางคนเตรียมพร้อมเรื่องการลดหย่อนภาษีแล้ว แต่บางคนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าการยื่นลดหย่อนภาษีมีความสำคัญอย่างไร ด้วยเหตุผลดังกล่าว บทความนี้จึงจะมาแนะนำเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีว่ามีรายการอะไรที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง แล้วเงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี 



ลดหย่อนภาษีคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร?

ลดหย่อนภาษี คือ

การลดหย่อนภาษี คือ สิทธิ์ในการลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามรายการที่กฎหมายกำหนด โดยแต่ละรายการจะนำมาหักลบกับรายได้ต่อปีก่อนคำนวณภาษี ซึ่งส่งผลให้จำนวนภาษีที่ต้องจ่ายนั้นลดลงไป สำหรับคนที่มีเงินเดือนการวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยเลย เพราะช่วยประหยัดเงินด้วยการหักลดหย่อนภาษี และสามารถนำเงินที่ไม่ต้องจ่ายภาษีไปทำอย่างอื่นได้ เช่น ออมเงินเพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝาก ลงทุนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น 


เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจำเป็นต้องเสียภาษี?

หลายคนอยากรู้ว่าเงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี เพื่อเป็นการหาข้อมูลเตรียมพร้อมสำหรับการยื่นลดหย่อนภาษีของทุกคน เราจะมาบอกเกณฑ์รายได้ต่อปีกับจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายดังนี้

  • รายได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
  • รายได้ต่อปี 150,001 – 300,000 บาท จะต้องเสียภาษี 5%
  • รายได้ต่อปี 300,001 – 500,000 บาท จะต้องเสียภาษี 10%
  • รายได้ต่อปี 500,001 – 750,000 บาท จะต้องเสียภาษี 15%
  • รายได้ต่อปี 750,001 – 1,000,000 บาท จะต้องเสียภาษี 20%
  • รายได้ต่อปี 1,000,001 – 2,000,000 บาท จะต้องเสียภาษี 25%
  • รายได้ต่อปี 2,000,001 – 5,000,000 บาท จะต้องเสียภาษี 30%
  • รายได้ต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี 35%

รายการลดหย่อนภาษีตามกฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง?

อะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ก่อนจะวางแผนลดหย่อนภาษีต้องทราบก่อนว่าอะไรที่นำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง แต่ละรายการสามารถลดหย่อนได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งสำหรับคนที่ต้องการขอลดหย่อนภาษีสามารถศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ได้จากรายละเอียดต่อไปนี้

ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

การลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัวเป็นสิทธิ์ที่ทุกคนได้รับตามกฎหมาย โดยมีการกำหนดเงื่อนไขของคนที่จะลดหย่อนภาษีว่าต้องมีสถานภาพตรงกับที่กฎหมายกำหนด เช่น การลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบิดา-มารดา การมีบุตร หรือมีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ใด ๆ เป็นต้น ซึ่งแต่ละรายการก็จะสามารถลดหย่อนได้แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

  • ลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา-มารดาคนละ 60,000 บาท โดยทางพ่อแม่จะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ลดหย่อนบุตรจะได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมหากบุตรคนที่สองเกิดหลังปี พ.ศ. 2561 จะได้รับการลดหย่อนคนละ 60,000 บาท

ลดหย่อนภาษีจากการบริจาคเงินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

วิธีลดหย่อนภาษีที่นอกเหนือจากสถานภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด คือ การบริจาคเงินตามสถานที่ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถได้รับการลดหย่อนเพิ่มเติมได้ โดยการบริการเงินจะมีค่าลดหย่อนที่ได้มากกว่าวิธีการอื่น ๆ ตามรายละเอียดดังนี้

  • บริจาคเงินทั่วไปสามารถลดหย่อนภาษีตามจำนวนเงินที่บริการ แต่จะลดได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
  • บริจาคเงินให้กับโรงพยาบาล สถานศึกษา ลดหย่อนได้มากถึง 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่ก็ลดได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนไปแล้ว

ลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายของรัฐ

หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรลดหย่อนภาษีได้อีกบ้าง รู้หรือไม่ว่าการทำตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐก็สามารถรับลดหย่อนภาษีได้ โดยรายการที่สามารถลดหย่อนได้มีดังนี้

  • Easy-E receipt : ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การซื้อสินค้าบริการจากผู้ประกอบการตามที่กำหนด 30,000 และ ซื้อสินค้า OTOP หรือบริการวิสาหกิจชุมชน 20,000 บาท โดยจะมีสินค้าบางรายการที่ไม่สามารถลดหย่อนได้ เช่น สุรา เหล้า เบียร์
  • เที่ยวเมืองรอง : เมื่อจ่ายค่าที่พัก ค่าเดินทาง หรือค่าไกด์ในการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัดที่กำหนด สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาท

ลดหย่อนภาษีจากประกันและการลงทุน

การลงทุนหรือทำประกันรวมถึงการออมเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน โดยเงื่อนไขการลดหย่อนจะต้องลงทุนหรือทำประกันตามที่กรมสรรพากรกำหนดตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • ประกันชีวิต : สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันของบิดา-มารดา : สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ : ลดหย่อนได้ถึง 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ : ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 และสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์
  • กองทุนการออมแห่งชาติ : ลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท

ลดหย่อนภาษีจากการบริจาคพรรคการเมือง

การบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองเองก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการลดหย่อนภาษี โดยการลดหย่อนตรงนี้สามารถลดได้ตามจำนวนเงินที่บริการ แต่จะต้องไม่เกิน 10,000 บาท


ลดหย่อนภาษีเรื่องสำคัญต่อแผนการเงินของเรา

การลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญต่อคนที่มีเงินเดือน เพราะเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องนำไปเสียภาษี และสามารถนำไปทำอย่างอื่นต่อได้ โดยทุกคนควรตรวจสอบตัวเองว่ากรณีใดที่สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้ และเรานั้นเข้าเงื่อนไขที่ทางรัฐบาลกำหนดหรือเปล่า เพื่อไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับและสามารถยื่นเรื่องขอลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้อง


รับฟรี! รวมโพสขายดี