IP Address คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตปัจจุบัน

IP Address คือ

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ทุกครัวเรือนต้องการจะมีไว้ใช้ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ถูกเรียกว่ายุคแห่งดิจิทัลที่เน้นการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ถูกต้อง ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้มีผู้พัฒนาออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลไว้คอยอำนวยความสะดวกด้วยการกำหนดเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) มาทำหน้าที่ช่วยระบุเครือข่าย และตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ร่วมอยู่ในเครือข่าย

เราจะมาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า IP Address คืออะไร IP Address มีกี่แบบ รวมถึงวิธีตรวจสอบที่อยู่ ip อีกด้วย

ความหมายของ IP Address คืออะไร   

IP Address คือ เลขชุดที่ใช้สื่อสารในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เน้นความปลอดภัยบนออนไลน์ สำหรับหมายเลขชุดดังกล่าวนับเป็นที่อยู่ ip ที่เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ที่เป็นได้ทั้งต้นทาง และจุดหมายปลายทางในการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายทั้งที่เชื่อมต่อโดยตรง เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค มือถือ และที่ไม่ได้เชื่อมต่อโดยตรง เช่น เครื่องพรินเตอร์ ลำโพง เป็นต้น

IP ย่อมาจาก Internet Protocol Address เป็นได้ทั้งเลขฐานสอง 32 บิต (bit) ของ IPv4 (IP version 4) 

และเลขฐานสอง 128 บิตของ IPv6 (IP version 6) โดยที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) สามารถขอ IP 

Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ซึ่งอยู่ภายใต้องค์กร  Network Solution Incorporated (NIS) ที่อเมริกา

สำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ทาง ISP จะเป็นผู้กำหนด IP Address ให้เอง

อย่างไรก็ดีการสื่อสารบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ช่วยผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งานอย่างราบรื่นนั้น ต้องประกอบด้วย IP 

Address ที่ทำงานร่วมกับ DNS (Domain Name System) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต โดยมี DNS ทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมนไปเป็น IP Address ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและใช้ในการสื่อสาร

ยกตัวอย่างเช่น : พิมพ์ nt national telecom ลงในเว็บเบราว์เซอร์ แล้วระบบ DNS จะค้นหา IP Address 

ที่สอดคล้องกับชื่อโดเมนนั้น แล้วส่งคำขอไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มี IP Address นั้นเป็นตัวระบุตำแหน่ง เป็นต้น

IP Address มีกี่ประเภท อะไรบ้าง 

เนื่องจาก IP Address คือ ข้อมูลเลขชุดของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แต่ละเครื่องที่จะไม่ซ้ำกันจึงทำให้สามารถติดตามเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) เพื่อให้รู้ว่าข้อมูลที่มีการรับ/ส่งนั้นมาจากแห่งไหน 

ปัจจุบัน IP Address ที่ใช้มีอยู่ 2 รุ่น คือ

  • เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) สามารถรองรับอุปกรณ์ในเครือข่ายได้ 4.3 พันล้านหมายเลข
  • ลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุด (ไบต์) เกิดจากการรวมตัวของเลขฐาน 2 จนกลายเป็น 1 ไบต์ที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) โดยที่แต่ละกลุ่มมีตัวเลขไม่เกิน 3 หลัก
  • มีการแบ่งออกเป็นหลายคลาส A, B, C, D และ E
  • ยกตัวอย่าง คือ 66.94.29.13
  • เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 (IPv6) ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มปริมาณเลขที่อยู่ไอพีเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับปริมาณการใช้งาน สามารถรองรับอุปกรณ์ในเครือข่ายได้ 340,000,000,000,000 หมายเลข
  • ลักษณะจะแตกต่างจาก IPv4 ชัดเจน ประกอบด้วยตัวเลขและตัวอักษรรวมกันเป็น 8 ชุดที่คั่นด้วยเครื่องหมายโคลอน (:)
  • รองรับการทำงานที่ซับซ้อนได้
  • มีความปลอดภัยสูง
  • ทำงานได้เร็วกว่า IPv4
  • ยกตัวอย่าง คือ 2001:0000:3238:DFE1:0063:0000:0000:FEFB

ปกติแล้ว เลข IP Address แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ 

  • หมายเลขเครือข่าย (Network Number) ถูกตั้งด้วย Router, Switch หรือ VLAN ที่สามารถสื่อสารกันได้เฉพาะเครื่องในกลุ่ม VLAN เดียวกันเท่านั้น
  • หมายเลขประจำเครื่อง (Host Number) ในเครือข่ายนั้น อาจมีหมายเลขซ้ำกันได้แต่เมื่อรวมกับหมายเลขเครือข่ายแล้ว ก็ย่อมได้ IP Address ที่ไม่ซ้ำกัน 

นอกจากนี้ เลข IP Address  ยังสามารถแยกออกเป็น 

  • Public IP คือ IP Address สาธารณะที่สามารถเชื่อมต่อ และใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั้งในรูปแบบ Static IP (ถูก fix โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทนั้น) และ Dynamic IP (ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต – กล่าวได้ว่าเป็นผู้ใช้งานทั่วไป)
  • Private IP คือ IP Address ส่วนตัว ที่ถูกตั้งจาก Router ส่วนกลางที่มีทั้ง Public IP และ Private IP โดยที่ Private IP ของแต่ละเครื่องจะมีตัวเลขส่วนท้ายที่แตกต่างกัน

IP Address มีการแยกระดับการใช้อย่างไร 

IP Address คือ หมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในเครือข่ายซึ่งปัจจุบันยังคงใช้ IPv4 

ซึ่งมีการจัดแบ่งระดับการใช้ออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับด้วยกันคือ

  • Class A -> ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น องค์กรนานาชาติ รองรับเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค แต่ละเครือข่าย มี IP Address ให้ใช้ 16 ล้านหมายเลข, นอกจากนี้ bit ตัวซ้ายสุดเป็น 0 เมื่อแปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว

ยกตัวอย่าง IP Address เช่น -> 1.0.0.1 – 127.255.255.254

  • Class B -> ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดกลาง เช่น องค์กรขนาดใหญ่ รองรับเครือข่ายได้ 16,384 เน็ตเวิร์ค แต่ละเครือข่ายมี IP Address ให้ใช้ 65,000 หมายเลข, นอกจากนี้ bit ตัวซ้ายสุดเป็น 10 เมื่อแปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว

ยกตัวอย่าง IP Address เช่น -> 128.0.0.1 – 191.255.255.254

  • Class C -> ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก รองรับเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค แต่ละเครือข่ายมี IP Address ให้ใช้ 254 หมายเลข, นอกจากนี้ bit ตัวซ้ายสุดเป็น 110 เมื่อแปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว

ยกตัวอย่าง IP Address เช่น -> 192.0.1.1 –  223.255.254.254

  • Class D -> ถูกจัดไว้ให้ใช้กับกลุ่ม Multicast Addresses เท่านั้น

ยกตัวอย่าง IP Address เช่น -> 224.0.0.0 – 239.255.255.255

  • Class E -> สงวนไว้ให้ใช้กับงานวิจัยและพัฒนา (Reserved Addresses) เตรียมไว้ใช้งานในอนาคต

ยกตัวอย่าง IP Address เช่น -> 240.0.0.0 – 255.255.255.254

วิธีตรวจสอบ IP Address แบบง่าย ๆ  

ip คือ

วิธีในการตรวจสอบว่า IP Address คือ หมายเลขอะไรนั้น เราสามารถเช็กง่าย ๆ ที่มีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 แบบ Network Number

  • เข้า Google
  • พิมพ์ what is my IP Address แล้ว enter
  • หน้าจอจะแสดงผล IP Address ตามต้องการ

วิธีที่ 2 แบบ Local Number

  • Option A
  • กดไปที่ Start แล้วพิมพ์ cmd ตรงช่องค้นหาแล้วกด enter
  • เข้าสู่หน้าต่างของ Command prompt แล้วพิมพ์คำสั่งว่า ipconfig
  • ก็จะมีหมายเลข IP Address ประจำเครื่องปรากฏขึ้น
  • ในกรณีที่มีคำว่า error ขึ้นแทนก็แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
  • Option B
  • กดไปที่ Start แล้วพิมพ์ IP Address ตรงช่องค้นหาแล้วกด enter
  • เลือก View Network Connection แล้วดับเบิ้ลคลิก
  • เลือก Local Area Connection คลิกขวาที่เมาส์เลือก Properties
  • แล้วเลือก Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4)
  • คลิก Properties เพื่อดูข้อมูล IP Address

สำหรับกรณีที่ต้องการตรวจเช็กว่าคอมพิวเตอร์ของเราอยู่ในเครือข่ายเดียวกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหรือ

ไม่นั้น ก็ให้พิมพ์คำสั่งว่า ping แล้วตามด้วยหมายเลข ip address ของคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง ถ้าสามารถ

สื่อสารกันได้ก็แปลว่าใช่

สรุป IP Address ที่อยู่ใกล้ตัว และน่าเรียนรู้ 

การทำงาน หรือ การทำธุรกิจในยุคดิจิทัลที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภทนั้น การที่เราจะมีความรู้ความเข้าใจว่า IP Address คือสิ่งที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องสำคัญ และใกล้ตัวมาก ดังนั้นเราควรเลือกใช้ IP Address ให้ถูกชนิดที่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ให้ทั้งความปลอดภัย และเสียค่าใช้จ่ายในระดับที่คุ้มค่ากับการลงทุน 

รับฟรี! รวมโพสขายดี